วาดรูป

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ศิลปะกับจิตใจ


                                       ศิลปะกับจิตใจ



        สุภาพร  แก้วกุก









                               คำว่า “ศิลปะ” หมายถึงอะไร?  “ศิลปะ” คืออะไร?  “ศิลปะ” 
เกิดขึ้นได้อย่างไร   นี่เป็นคำถามที่ฟังดูง่ายและคำตอบก็น่าจะง่ายเช่นเดียวกัน 
แต่แปลก 100 คน ใน 1 คำถาม ไม่มีใครตอบได้เลย และไม่กล้าแม้จะตอบหรือ
แสดงความคิดเห็นผ่านพ้นริมฝีปากออกมา คำว่า “งง” เกิดขึ้นในฐานะที่ตัวเอง
ซึ่งปัจจุบันเป็นครูผู้สอนวิชาศิลปะ หรือทัศนศิลป์เพิ่งย้ายมาสอนใหม่ได้ไม่นาน
 ในโรงเรียนแห่งหนึ่งที่มีชื่อเสียงมากพอสมควร  แอบน้อยใจในใจ  นี่ขนาดเด็ก
นักเรียนที่เรียนในโรงเรียนดีๆมีความเจริญก้าวหน้าทุกอย่างทั้งทางด้านเทคโน
โลยี
                              โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ต เป็นไปได้หรือที่เด็กจะ
ไม่สนใจค้นคว้าเรื่องศิลปะเลย แค่เพียงปลายนิ้วคลิกเดียวก็สามารถรับรู้ข้อมูล
ทั่วโลกแต่สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวสิ่งที่เจอหรือคุ้นเคยเกี่ยวข้องกับตัวเองในชีวิตประจำวัน
แต่ไม่รู้เลยว่าได้ประยุกต์สิ่งเหล่านั้นมาจากไหน ชีวิตตอนเช้าเริ่มต้นที่เตียงนอน 
จนกระทั่งตอนเย็นก็จบลงที่เตียงนอนภารกิจชีวิตประจำวันต่างก็ต้องใช้ความรู้ทั้งนั้น
 แม้เรื่องเล็กน้อย เช่น การเจียวไข่ที่ง่ายที่สุด (โดยเฉพาะคนที่ทำกับข้าวไม่เป็น)
 ยังต้องใช้ความรู้เลย แต่ใครบ้างเล่าจะคิดว่า เราได้นำความรู้เรื่องศิลปะมาใช้ใน
การเจียวไข่ให้ชวนรับประทานนั้น 
                                 นอกจากจะมีแค่สีเหลืองของไข่เพียงอย่างเดียว เราก็นำความรู้
ความรู้เรื่องศิลปะมาประยุกต์สร้างสีสันให้กับการเจียวไข่ ส่วนผสม เช่น ยอดชะอมสี
เขียวแทนที่จะหั่นหรือเด็ดเป็นชิ้นเล็กๆก็นำยอดชะอมมาดัดเป็นรูปใบหน้าหรือรูปหัวใจ 
พริกสดสีแดงแต่งแต้มเป็นริมฝีปาก สีเหลืองเป็นแก้มยุ้ย สีเขียวเป็นคิ้วโก่งก็น่ารักไป
อีกแบบหอมหัวใหญ่แปลงร่างเป็นแว่นสายตาก็ยังได้ เอาหอมแดงมาซอยเป็นลูกตาซะ
เลย น่ากินทีเดียว หรือแม้กระทั่งข้าวผัดหลากสีสัน คือตัวการหลอกล่อให้เด็กกินข้าว
นั้นเป็นเรื่องง่ายนิดเดียว
                                ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นล้วนใช้ความรู้เรื่องศิลปะประยุกต์ทั้งนั้น น้อย
คนนักที่จะสังเกตว่านี่เองหรือคือศิลปะ ศิลปะเป็นแบบนี้นี่เอง